Marketplace > ประกาศซื้อขายทั่วไป
ทองคำที่เหมืองอัครารอคุณอยู่! มาร่วมสำรวจแหล่งขุดทองที่มีความหมายและทรงคุณค่า
(1/1)
abbeygk:
บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ประกอบการ “เหมืองแร่ทองคำชาตรี” ซึ่งเป็นเหมืองแร่ทองคำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณกลุ่มแนวหินชั้นหินคดโค้งเลย (Loei Fold Belt) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของแผ่นเปลือกโลกอินโดจีน (Indochina Block) โดยเหมืองของเราอยู่ห่างจากกรุงเทพไปทางทิศเหนือประมาณ 280 กิโลเมตร บนรอยต่อระหว่างจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย โดยตั้งชื่อโครงการว่า “ชาตรี” เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายชาตรี ชัยชนะพูลผล นักธรณีวิทยารุ่นบุกเบิก ผู้มีบทบาทสำคัญในการค้นพบแหล่งแร่ นำมาสู่ “เหมืองแร่ทองคำชาตรี” ของเราในทุกวันนี้ ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตทองคำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยยึดมาตรฐานระดับโลก ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืน และส่งต่อ “คุณค่าไทย” ผ่านทองคำไทย โดยคนไทย เพื่อคนไทย สู่สายตาโลก
ในฐานะบริษัทในเครือของ บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด (Kingsgate Consolidated Limited) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย (Australian Securities Exchange: ASX) เราได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญที่เพิ่มขีดความสามารถอันเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของเรา การถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของเราในการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินงานอย่างยั่งยืน
ช่วงปี 2544 – 2559 เหมืองทองอัคราได้ผลิตโลหะทองคำ 1.8 ล้านออนซ์ และโลหะเงิน 10 ล้านออนซ์ โดยยังคงมีปริมาณสำรองทรัพยากรแร่ทองคำ 3.4 ล้านออนซ์ และทรัพยากรแร่เงิน 29.4 ล้านออนซ์ คิดเป็นมีปริมาณสำรองสินแร่ทองคำ 1.3 ล้านออนซ์ และสินแร่เงิน 11.9 ล้านออนซ์ ณ เดือนตุลาคม 2566 ปัจจุบันโรงประกอบโลหกรรมของเหมืองแร่ทองคำชาตรีมีกำลังการผลิตติดตั้ง (Nameplate Capacity) รวมอยู่ที่ 5 ล้านตันต่อปี
นอกเหนือจากรางวัลอันทรงเกียรติที่ได้รับ อัคราเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการเหมืองแร่รายแรก ๆ ที่ได้รับการรับรองการใช้และจัดการสารไซยาไนด์ที่ได้มาตรฐานระดับสากล (International Cyanide Management Code) เราให้ความสำคัญต่อการดำเนินการอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเราตระหนักดีว่าการดูแลชุมชนและสิ่งแวดล้อมเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนให้อัคราเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเหมืองแร่
เมื่ออัคราเดินกำลังการผลิตอย่างเต็มรูปแบบ บริษัทจะป้อนเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทยมากถึง 4.3 พันล้านบาทต่อปี* ซึ่งรวมถึงค่าภาคหลวงแร่ประมาณหนึ่งพันล้านบาทต่อปี โดย 40% ของค่าภาคหลวงแร่จะถูกจัดสรรให้แก่รัฐบาลส่วนกลาง อีก 50% ถูกจัดสรรให้แก่ชุมชนในพื้นที่ที่บริษัทดำเนินการทำเหมือง และอีก 10% ที่เหลือจะถูกจัดสรรให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลทั่วประเทศ อัครามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสวัสดิการและการเติบโตของชุมชน โดยจัดสรรเงินอีก 21% ของค่าภาคหลวงแร่เข้ากองทุนเพื่อพัฒนาชุมชนในมิติต่าง ๆ รวมทั้งสุขภาพของประชาชน
อัคราให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนรอบเหมืองแร่ทองคำชาตรี โดยมีนโยบายการจ้างงานที่กำหนดให้พนักงานของบริษัทกว่า 90% รวมถึงผู้รับเหมา เป็นชาวบ้านในพื้นที่รอบเหมือง ซึ่งนโยบายนี้ไม่เพียงแต่สร้างเสถียรภาพทางรายได้ให้แก่ชุมชนเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมความแข็งแกร่งของสถาบันครอบครัวอีกด้วย ทำให้สมาชิกในชุมชนมีโอกาสได้ทำงานใกล้บ้านและอยู่กับครอบครัวพร้อมหน้า ไม่ต้องจากครอบครัวออกไปหางานที่อื่น ซึ่งเป็นภาพที่เห็นได้ยากในพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทยที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ต้องไปทำงานห่างไกลจากครอบครัว ประโยชน์ทางสังคมนี้มีมูลค่ามากเกินกว่าที่จะวัดเป็นเม็ดเงินได้
อัคราจัดให้มีการตรวจสุขภาพของประชาชนรอบพื้นที่ในรัศมี 5 กิโลเมตร พร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลในพื้นที่ และจัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานให้กับอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ในอนาคตบริษัทมีแผนที่จะจัดตั้งศูนย์กีฬาชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี อัครามุ่งผลักดันการศึกษาและการเรียนรู้โดยร่วมมือกับหน่วยงานหลายภาคส่วนในการพัฒนาการศึกษาในทุกมิติ ตั้งแต่การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของโรงเรียนให้มีความปลอดภัยในการเรียน ตลอดจนสนับสนุนบุคลากรทางการศึกษาให้ได้รับการฝึกอบรมหรือเรียนรู้เพิ่มเติม และสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ รวมทั้งสนับสนุนสื่อการเรียนการสอนและเครื่องแต่งกาย นอกจากนี้ บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา จึงได้จัดโครงการความมั่นคงทางอาหาร โดยดำเนินโครงการกับโรงเรียนบ้านคีรีเทพนิมิต หมู่ที่ 3 บ้านเขาดิน ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร โดยบริษัทให้การสนับสนุนการก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ และโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า นอกจากนี้ยังสนับสนุนงบประมาณจัดซื้อแม่ไก่ อาหารไก่ และเชื้อเห็ดนางฟ้า เพื่อเป็นต้นทุนให้กับโรงเรียน นอกจากจะนำผลผลิตมาทำอาหารกลางวันและนำส่วนที่เหลือไปจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้แล้ว ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรและครัวให้แก่นักเรียนอีกด้วย
เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่และทุกช่วงวัย อัคราจึงส่งเสริมให้พนักงานได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นหรือรับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะและประสิทธิภาพในการทำงาน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เหมืองแร่ทองคำชาตรี เปรียบเสมือนห้องเรียนนอกโรงเรียนขนาดใหญ่สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาด้านธรณีวิทยา บริษัทจึงเปิดบ้านต้อนรับคณะนักเรียน นักศึกษา และอาจารย์จากสถาบันต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนให้บุคลากรของเรามีโอกาสแบ่งปันวิชาความรู้ ส่งมอบประสบการณ์จากการปฏิบัติงานจริง
อัคราพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ชุมชนท้องถิ่นผ่านการจ้างงานทั้งโดยตรงและผ่านผู้ประกอบการในพื้นที่ นอกจากนี้ บริษัทยังดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพ จัดตั้งสหกรณ์การเกษตรและแปรรูป และวางแผนพัฒนาศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมถึงแผนการพัฒนาพื้นที่เหมืองและบริเวณโดยรอบให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ ผลักดันให้เกิดโฮมสเตย์ในพื้นที่เพื่อตอบโจทย์นักท่องเที่ยวที่สนใจสัมผัสวิถีชีวิตชุมชน เพื่อให้การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนไปในทิศทางที่ยั่งยืน
บริษัทมุ่งมั่นในการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง พัฒนาความรู้ด้านการตลาดเพื่อเพิ่มช่องทางการขายสินค้าและบริการของวิสาหกิจชุมชนไปสู่ลูกค้าในวงกว้างขึ้นอันจะนำไปสู่การสร้างรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่บริษัทให้การสนับสนุนทั้งหมดจำนวน 13 กลุ่ม
พื้นที่สีเขียว ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของ “เมืองยั่งยืน” – บริษัทจึงตั้งเป้าหมายปลูกต้นไม้สร้างพื้นที่สีเขียวเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 1,000,000 ต้น ภายในปี 2570 ทั้งในเขตพื้นที่เหมืองและในป่าชุมชนผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชนในพื้นที่
เหมืองอัครา ดูแลตรวจสอบและซ่อมบำรุงระบบประปาหมู่บ้านในพื้นที่รอบเหมือง รวมถึงตรวจสอบระบบไฟฟ้าเป็นประจำทุกเดือน หากพบว่ามีจุดใดชำรุดเสียหายหรือระบบขัดข้อง ทางบริษัทจะเข้าพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือโดยเร็วที่สุดเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงน้ำอุปโภคบริโภคที่สะอาดได้มาตรฐาน นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนการดำเนินโครงการร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล ในการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรให้กับเกษตรกรในพื้นที่ โดยการนำน้ำจากบ่อเหมืองไปใช้ประโยชน์ในการเกษตร โดยเฉพาะการทำเกษตรในช่วงฤดูแล้ง เพื่อให้ประชาชนหรือเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
ไปที่เวอร์ชันเต็ม